บริการวิชาการ
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน ฯ และ Kick Off Project โครงการจัดทำแผนยทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลเมืองท่าใหม่
หากไม่เห็นอะไรที่ด้านบน ตรวจสอบสิทธิ์อีกครั้ง
การเสวนาโคกพลับ แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ที่ อ.บางแพ
ชมรมชาวโพหักรักษ์ถิ่นพัฒนาร่วมกับนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ,มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และชุมชนชาวโพหัก จัดเสวนาเรื่องโคกพลับขึ้น เพื่อรื้อฟื้นโคกพลับให้ได้กลับมามีชีวิต และให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมรับรู้ และเห็นความสำคัญที่มีคุณค่าของแหล่งมรดกโบราณคดีอีกครั้ง
วันที่ 20 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น.ที่ ห้องประชุมโคมทอง โรงเรียนบางแพปฐมพิทยา อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ดร.นภสร โศรกศรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เป็นประธานเปิดการเสวนา โคกพลับแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พร้อมด้วย นาย สด แดงเอียด อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมการศาสนา ซึ่งเป็นผู้ขุดค้นแหล่งโบราณคดีโคกพลับ และนักวิชาการ รศ.ดร.ธนิก เลิศฤทธิ์ อาจารย์ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อ. นิติพัทธิ์ แก้วประสิทธิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อาจารย์ มนัส รักอู่ นักวิชาการอิสระ และดร.วิชัย รูปขำดี อดีตคณบดีคณะพัฒนาสังคม นายกสมาคมพัฒนาสังคม โดยมี ผศ.ดร คมพล สุวรรณกูฏ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย โดยมี พลเอก ปัญญา รอดเชื้อ ประธานชมรมชาวโพหักรักษ์ถิ่นพัฒนา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดการเสวนา
ซึ่งแหล่งโบราณคดีโคกพลับ เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ที่ ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่มีอายุราว 3,000 ปี ได้มีการสำรวจและขุดค้น โดยนักโบราณคดีของกรมศิลปากร คือ นาย สด แดงเอียด เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2520 จนสำเร็จเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2521 และได้มีการขุดสำรวจครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 กันยายน - 23 ตุลาคม 2553 จากนั้นจึงได้กลบปิดหลุมการขุดค้น ซึ่ง นาย สด แดงเอียด นักโบราณคดี ผู้รับผิดชอบในการขุดครั้งแรก กล่าวว่า "ในการขุดครั้งนั้น ได้พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ จำนวน 48 โครงพร้อมเครื่องประดับ กรมศิลปากรจึงได้นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี ,พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ปัจจุบันแหล่งโบราณคดีโคกพลับ ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากร และปิดกลบไว้ จึงมีส่วนทำให้คนในชุมชน ลืมความสำคัญของโคกพลับไป"
โดย พลเอก ปัญญา รอดเชื้อ ประธานชมรมชาวโพหักรักษ์ถิ่นพัฒนา กล่าวอีกว่า "ชมรมชาวโพหักรักษ์ถิ่นพัฒนาได้ร่วมกับชุมชนชาวโพหัก สมาคมพัฒนาสังคม สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร์ (นิด้า) ได้เข้ามารื้อฟื้นเพื่อให้โคกพลับ ได้กลับมามีชีวิตและชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้ เห็นความสำคัญของแหล่งโบราณคดีโคกพลับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ด้วยการการสำรวจความคิดเห็น การจัดการเสวนาให้ความรู้กับครูนักเรียนและชุมชน ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญหลายครั้ง โดยในครั้งนี้ชุมรมชาวโพหักรักษ์ถิ่นพัฒนา ร่วมกับนักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยศิลปากร ,มรภ.จอมบึง ,มรภ.
นครปฐม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และชุมชนชาวโพหัก ได้จัดเสวนาเรื่องโคกพลับ และมั่นใจว่าการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และชี้ให้เห็นความสำคัญของแหล่งโบราณคดีโคกพลับ ที่เป็นจุดหมายการเชื่อมโยงอารยธรรมในพื้นที่แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีนให้กับชาวราชบุรี และสังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าและเห็นความสำคัญ ของแหล่งมรดกโบราณคดีให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ข่าว/ภาพ วัธนัย วิภาตกนก
#บริษัทราชบุรีเคเบิ้ลทีวี #ข่าวราชบุรี #ข่าวท้องถิ่น #สื่อราชบุรี #วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี #ชมรมชาวโพหักรักษ์ถิ่นพัฒนา #โรงเรียนบางแพปฐมพิทยา